และมีประสิทธิผลสูงมาก โดยตัวเราเป็นเจ้าของ 100% ซึ่งส่วนใหญ่เว็บไซต์มักจะถูกพูดถึงในทาง “ดีไซน์สวยงาม และการทำอันดับใน Google”
สิ่งที่นำเสนอในการออกแบบเว็บไซต์ที่มีประสิทธิภาพ เป็นงานที่ซับซ้อนกว่าคำว่า “การออกแบบเว็บไซต์”
เป็นกลยุทธ์ที่เริ่มต้นจาก “มุมมองของธุรกิจ” ท้าทายด้วยการเขียนคำโฆษณา การปรับแต่งรูปภาพ การจัดวางองค์ประกอบทางศิลป์ การศึกษาพฤติกรรมผู้ใช้งานเว็บไซต์ ทั้งหมดนี้ผ่าน การคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking) อย่างลึกซึ้งในหลากหลายมิติ
ที่ผู้ใช้งานเว็บไซต์หรือลูกค้า รู้สึกต่อเว็บไซต์และแบรนด์ของเรา รวมถึงความสำเร็จทางเทคนิค ทั้งในด้านระบบและการจัดทำโครงสร้างเว็บไซต์ที่รองรับการต่อยอดทางการตลาดออนไลน์
อาจจะเป็นเว็บไซต์ราคาถูกหรือราคาแพงก็ได้ แต่การมีอยู่ของเว็บไซต์ไม่ได้ช่วยธุรกิจไปถึงเป้าหมาย หรือไม่ก่อให้เกิดคุณค่า คุณประโยชน์แก่ใคร รวมถึงการปล่อยเว็บไซต์ให้ร้าง ไม่มีทีมงานคอยดูแล อัปเดต … ส่วนตัวมองว่า ภาพลักษณ์ของเว็บไซต์จะถูกเชื่อมโยงไปยังภาพลักษณ์ของธุรกิจเสมอค่ะ (Brand Image)
ขอบคุณรูปภาพ blog.xola.com
หากคุณลองจินตนาการตาม หรือ คุณอาจจะเคยเห็นเว็บไซต์ประเภทนี้อยู่บ้างแล้ว เช่น
ในทางกลับกัน …
ไม่ใช่เพียงแค่ดึงดูดลูกค้าได้ แต่จะดึงดูดบริษัทคู่ค้า partner, supplier และคนทำงานเก่งๆ โดยเฉพาะคนรุ่นใหม่ก็อยากร่วมงานกับบริษัทที่มีภาพลักษณ์ดี ที่ช่วยส่งเสริมโอกาสให้กับพวกเค้าได้
เคยคุยเล่นๆ กับนักศึกษาที่ยุ้ยสอนวิชา Branding ค่ะว่า มีความคิดเห็นหรือรู้สึกยังไงระหว่าง
“เว็บไซต์ที่ดูตั้งใจทำ กับ เว็บไซต์ที่ดูแค่ให้มี”
ความคิดเห็นอันนึงน่าสนใจค่ะ น้องตอบว่า … เว็บไซต์ที่ดูตั้งใจทำ เค้าให้ความสำคัญกับ user ผมคิดว่าบริษัทก็น่าจะตั้งใจกับทุกเรื่องครับ ทั้งตั้งใจทำสินค้าให้มีคุณภาพดีเพราะให้ความสำคัญกับลูกค้า และก็น่าจะมี culture การทำงานที่ดีด้วย เพราะให้ความสำคัญกับพนักงาน เหมือนว่าเค้าไม่ได้มองแค่ตัวเอง แต่คิดถึงคนอื่นด้วย ประมาณนี้ครับ
เฉียบเนอะ : )
เช่น การวางรูปภาพ สลับกับข้อความ
ก็เพื่อให้มีจุดพักสายตา ใช้รูปภาพช่วยในการอธิบาย และรูปภาพเรียกร้องความสนใจได้ดีกว่าตัวอักษร … ฉะนั้น เราก็อย่าหยุดสวยค่ะ!
เช่น การใช้สีพื้นหลัง สีเทาจางๆ (จะเรียกสีขาวเข้มๆ ก็ได้นะ กันเอง)
ก็เพื่อให้ข้อความและรูปภาพโดดเด่นขึ้นมา และดูละมุนสายตาขึ้นด้วย
ทั้งหมดนี้อาจจะดูเหมือนเยอะสิ่ง มันเป็นรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ ที่เกิดขึ้นจากการเรียนรู้ การฝึกฝน ผ่านประสบการณ์ลงมือทำ พอเราทำจนชำนาญ อะไรพวกนี้เราจะคิดและออกแบบได้ auto เลย
สำหรับมือใหม่ ไม่เป็นไร ค่อยๆ เรียนรู้ไปทีละเรื่อง นอกจาก UX/UI แล้ว … ถ้าให้พี่ยุ้ยแนะนำตอนนี้ อยากให้พวกเราลองศึกษาเกี่ยวกับ Design Thinking และ Service Design นะคะ สนุกค่ะ 2 ตัวนี้ที่จริงแทบจะเป็นเรื่องเดียวกัน หากเราเข้าใจ จะช่วยให้เราตั้งทรงได้เร็วขึ้นเยอะเลยล่ะ
บทความ : Webmonster Lab | Yui Kanchita
Featured Image: unsplash.com
Cookie | Duration | Description |
---|---|---|
cookielawinfo-checkbox-analytics | 11 months | This cookie is set by GDPR Cookie Consent plugin. The cookie is used to store the user consent for the cookies in the category "Analytics". |
cookielawinfo-checkbox-functional | 11 months | The cookie is set by GDPR cookie consent to record the user consent for the cookies in the category "Functional". |
cookielawinfo-checkbox-necessary | 11 months | This cookie is set by GDPR Cookie Consent plugin. The cookies is used to store the user consent for the cookies in the category "Necessary". |
cookielawinfo-checkbox-others | 11 months | This cookie is set by GDPR Cookie Consent plugin. The cookie is used to store the user consent for the cookies in the category "Other. |
cookielawinfo-checkbox-performance | 11 months | This cookie is set by GDPR Cookie Consent plugin. The cookie is used to store the user consent for the cookies in the category "Performance". |
viewed_cookie_policy | 11 months | The cookie is set by the GDPR Cookie Consent plugin and is used to store whether or not user has consented to the use of cookies. It does not store any personal data. |